Penguin Grumpy Mad Kawaii

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 4 คลังข้อสอบ



แนวข้อสอบใบอนุญาติขับขี่


เฉลยแนวข้อสอบ ใบอนุญาตขับขี่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เอกสาร การเตรียมตัว ท่าสอบ


___________________________________________________________

1. สัญญาณนกหวีดข้อใดถูกต้อง

ก. เสียงนกหวีดยาว 1 ครั้ง ให้ผู้ขับขี่หยุดรถ
ข. เสียงนกหวีดสั้น 2 ครั้ง ติดกัน ให้ผู้ขับขี่หยุดรถทันที
ค. เสียงนกหวีดยาว 1 ครั้ง ให้ผู้ขับขี่ขับผ่านไปได้
ง. เสียงนกหวีดยาว 2 ครั้ง ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็ว


2. เขตปลอดภัยมีไว้สำหรับ
ก. ให้รถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป
ข. ให้คนเดินเท้าข้ามทางโดยไม่ต้องหยุดรอ
ค. ให้คนเดินเท้าที่จะข้ามทางหรือคนที่ลงรถหยุดรอก่อนจะข้ามต่อไป
ง. เขตที่ไว้สำหรับจอดรถได้อย่างปลอดภัย

3. บริเวณใดห้ามผู้ขับขี่หยุดรถ
ก. บนทางเท้า
ข. บนสะพาน
ค. ในอุโมงค์
ง. ถูกทุกข้อ

4. ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่ควรปฏิบัติเมื่ออยู่บนถนน


ก. ขับรถจี้ท้ายรถบรรทุกขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันรถอื่นวิ่งสวนทางเข้ามาชน
ข. ขับรถแล้วเจอแสงแดด ยกมือขึ้นมาป้องเพื่อป้องกันแสงเข้าตา
ค. ขับรถย้อนศรเพื่อประหยัดน้ำมัน
ง. ขับรถด้วยความเร็วไม่เกินที่กำหนด และแซงในกรณีที่จำเป็นต้องแซงเท่านั้น

5. ข้อใดถูกต้อง.
ก. มีสัญชาติไทย
ข. ต้องรู้จักถนนและทางหลวงในจังหวัดที่ขอรับใบอนุญาตขับรถพอสมควร
ค. ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ
ง. ถูกทุกข้อ

6. รถต่อไปนี้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ

ก. รถของสภากาชาดไทย
ข. รถของมูลนิธิร่วมกตัญญู
ค. รถของวัด
ง. รถของมูลนิธ่สายใจไทย

7. รถในข้อใดที่สามารถนำมาใช้ในทางเดินรถได้

ก. รถที่มีเสียงดังกว่าเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด
ข. รถที่มีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
ค. รถที่มีล้อไม่ใช่ยาง
ง. รถที่มีเสียงเครื่องยนต์ดังในระดับ 80 เดซิเบล

8. ข้อใด ไม่ใช่การขับรถอย่างปลอดภัยและประหยัดพลังงาน

ก. เร่งเครื่องก่อนออกรถ
ข. ไม่ควรติดเครื่องยนต์ระหว่างจอดรถคอย
ค. ขับรถด้วยความเร็วที่เหมาะสม
ง. ไม่บรรทุกของเกิดพิกัด

9. ผู้ขับขี่ซึ่งจะเลี้ยวรถจะต้องให้สัญญาณมืออย่างไร

ก. ให้สัญญาณมือด้วยมือซ้ายเท่านั้น
ข. ให้สัญญาณมือได้ทั้งมือซ้ายและมือขวา
ค. ไม่ต้องให้สัญญาณมือใด ๆ ทั้งสิ้น
ง. ให้สัญญาณมือด้วยมือขวาเท่านั้น









10. เครื่องหมายนี้หมายความว่าอย่างไร

ก. ห้ามกลับรถ
ข. ห้ามกลับรถสวนทาง
ค. ให้ขับชิดทางด้านขวา
ง. ให้รถเดินทางเดียว

11. ผู้ขับขี่ที่ต้องการจะลดความเร็วของรถต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขนอย่างไร


ก. ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
ข. ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน และตั้งผ่ามือขึ้น
ค. ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่และงอมือชูขึ้นโบกไปทางซ้ายหลายครั้ง
ง. ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่










12. เครื่องหมายนี้ หมายความว่าอย่างไร

ก. ให้ขับรถผ่านไปในทางข้างหน้าได้ทันที
ข. ให้ขับรถไปทางด้านซ้าย
ค. ให้ลดความเร็วหรือหยุดรถ เพื่อให้รถในทางข้างหน้าขับผ่านไปก่อน
ง. ให้หยุดรถพื่อให้ทางแก่รถที่คันใหญ่กว่า

13. ถ้าเติมลมยางแข็งเกินไป จะมีผลกับยางอย่างไร


ก. ดอกยางตรงกลางจะสึกหรอเร็วกว่าปกติ
ข. การขับขี่จะนุ่มนวลขึ้น
ค. ทำให้กินน้ำมันเชื้อเพลิงง
. ดอกยางด้านข้างจะสึกเร็วกว่าปกติ

14. ผู้ขับขี่ควรใช้สัญญาณไฟฉุกเฉินเมื่อใด

ก. เมื่อรถเสียหรือเกิดอุบัติเหตุ
ข. เมื่อขับรถผ่านทางร่วมทางแยก
ค. เมื่อจะกลับรถหรือเปลี่ยนช่องทางเดินรถ
ง. เมื่อมีหมอก.ฝน ฝุ่น ควัน ในทางเดินรถ

15. การบรรทุกสิ่งของยื่นเกินตัวรถยนต์ต้องปฏิบัติอย่างไ


ก. ติดไฟสัญญาณสีแดงที่ของที่บรรทุกเกินตัวรถตอนกลางคืนหรือติดธงสีแดงตอนกลางวัน
ข. ไม่ต้องติดสัญญาณใดๆ เพราะรถที่ตามมาต้องระมัดระวังเอง
ค. ใช้ขวดน้ำผูกที่ส่วนที่บรรทุกเกินตัวรถนั้น
ง. ใช้ถุงพลาสติกผูกที่ส่วนที่บรรทุกเกินตัวรถนั้น

16. หลังจากขับรถลุยน้ำ ผ้าเบรกเปียกมีวิธีแก้ไขให้แห้งได้อย่างไร

ก. เหยียบเบรกแรงๆ
ข. ขับรถให้เร็วๆ
ค. ขับรถช้าๆ เหยียบเบรกเบาๆ แล้วปล่อยหลายๆ ครั้ง
ง. จอดรถเข้าเกียร์ว่างและเร่งเครื่องยนต์ไว้สัก. 10 นาที

17. ในทางเดินรถที่มีสัญญาณจราจรไฟเขียวเป็นรูปลูกศรอยู่เหนือช่องทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร

ก. ให้ขับรถในช่องทางเดินรถนั้นได้
ข. ห้ามขับรถในช่องทางเดินรถนั้น
ค. ห้ามเลี้ยว
ง. ห้ามขับรถในช่องทางเดินรถนั้นเนื่องจากเป็นช่องทางเดินรถประจำทาง

18. ท่านควรหมุนพวงมาลัยลักษณะใดในการเลี้ยงรถ

ก. ปั่นพวงมาลัยและตีกลับเอง
ข. ใช้วิธีคลึงไปคลึงมาบนพวงมาลัย
ค. ใช้ระบบดึง-ดัน
ง. หมุนระบบสอดสร้อยมาลา

19. เมื่อพนักงานจราจรยืนและเหยียดแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาจากทางด้านไหนของพนักงานจราจรจะต้องหยุดรถ

ก. ด้านหลัง
ข. ด้านหน้าและด้านหลัง
ค. ด้านหน้า
ง. ด้านข้างและด้านหลัง

20. การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในรถยนต์ควรตรวจสอบอะไรบ้าง

ก. ไฟเลี้ยวซ้าย-ขวา
ข. ไฟเบรกและไฟหน้า
ค. ไฟหน้าและไฟเลี้ยวซ้ายขวา
ง. ไฟเลี้ยวซ้าย-ขวาและไฟหน้าสูงต่ำ-ไฟหรี่-ไฟเบรก-ไฟส่องป้ายทะเบียนรถ

21. รถประเภทใดสามารถเดินรถในช่องทางเดินรถประจำทางได้
ก. รถโดยสารประจำทาง
ข. รถบรรทุกคนโดยสารเกิน 15 คน ของทางราชการ
ค. รถโรงเรียน
ง. ถูกทุกข้อ

22. เครื่องหมายนี้ คือเครื่องหมายอะไร



ก. ห้ามเลี้ยวซ้าย
ข. ห้ามเลี้ยวขวา
ค. ให้เลี้ยวซ้าย
ง. ให้เลี้ยวขวา

23. ผู้ขับขี่ต้องการเลี้ยวรถต้องปฏิบัติอย่างไร


ก. ชะลอรถและเปิดไฟเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร
ข. เปิดไฟเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยว 20 เมตร
ค. หยุดรถเพื่อเตรียมตัวเลี้ยว
ง. เร่งความเร็วก่อนเลี้ยว

24. รถที่ขับด้วยความเร็วต่ำต้องขับอยู่ในข้อใด

ก. ช่องกลาง
ข. ช่องซ้ายสุด
ค. ช่องขวาสุด
ง. ช่องใดก็ได้

25. เมื่อถึงที่คับขันผู้ขับรถต้องปฏิบัติอย่างไร


ก. รีบขับผ่านไปโดยเร็ว
ข. ลดความเร็วของรถ ขับไปด้วยความระมัดระวัง
ค. เพิ่มความเร็วของรถ
ง. เพิ่มความเร็วของรถ และบีบแตรเสียงยาวเป็นระยะๆ

26. รถที่ค้างชำระภาษีประจำปีติดต่อกันครบสามปี จะมีผลตามกฎหมายอย่างใด
ก. ทะเบียนระงับ
ข. สามารถนำรถไปตรวจสภาพและต่อภาษีประจำปีได้
ค. สามารถกระทำได้ตามข้อ 1 และ 2
ง. สามารถนำรถไปแจ้งไม่ใช้ตลอดไปและจดทะเบียนใหม่ได้

27. สาเหตุใดที่ทำให้การเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด


ก. ขับรถชิดคันหน้า
ข. ขับรถแซงอย่างผิดกฎหมาย
ค. ขับรถตัดหน้าอย่ากระชั้นชิด
ง. ขับรถเร็วเกิดอัตราที่กำหนด

28. หากท่านจอดรถในทางเดินรถหรือบนไหล่ทางในเวลากลางคืน ท่านต้องปฏิบัติอย่างไร

ก. เปิดไฟหรี่
ข. เปิดไฟเลี้ยวซ้าย
ค. เปิดไฟเลี้ยวขวา
ง. เปิดไฟต่ำ

29. ฝาปิดจุ๊บลมยางมีประโยชน์อย่างไร

ก. ป้องกันลมรั่วซึมและสิ่งสกปรกต่างๆ
ข. ป้องกันยางแตก
ค. ป้องกันการขโมยยาง
ง. ป้องกันไม่ให้ใครมาเติมลม

30. เมื่อท่านขับรถที่มุ่งหน้าเข้าหาหน้าผาของภูเขาสูงแสดงว่า





ก. ถนนที่ท่านกำลังขับรถอยู่นั้นตัดผ่านภูเขา
ข. ถนนที่ท่านกำลังขับรถอยู่นั้นจะต้องเป็นทางโค้งขวาหรือโค้งซ้าย
ค. ถนนที่ท่านกำลังขับรถอยู่นั้นอาจเป็นทางตันไม่สามารถขับผ่านไปได้
ง. "ถูกทั้งข้อ ก, ข. และ ค."

31. เครื่องหมายนี้ หมายความอย่างไร





ก. ทางเอกตัดกันรูปตัววา
ข. ทางเอกตัดกันรูปตัวที
ค. ทางเอกตัดทางโทรูปตัววาย
ง. ทางโทแยกทางเอกเยื้องกัน เริ่มซ้าย

32. เครื่องหมายนี้ หมายความอย่างไร





ก. ไม่ขับรถตรงไป
ข. ต้องขับรถตรงไปตามทิศทางที่ป้ายกำหนดเป็นทางเดินรถทางเดียวเท่านั้น
ค. ไม่ขับรถเข้าไป
ง. ให้ขับรถไปทางซ้าย

33. เมื่อพบเครื่องหมายนี้ ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร?



ก. ขับรถภายในช่องจราจร ห้ามแซง.ห้ามขับรถผ่านหรือคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด
ข. ขับรถให้ช้าลง.ให้เลี้ยวขวา
ค. ขับรถไปทางด้านขวา ให้เลี้ยวซ้าย
ง. เพิ่มความระมัดระวัง.ห้ามเลี้ยวซ้าย

34. นอกเขตกรุงเทพ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ต้องขับรถด้วยความเร็วเท่าไร


ก. ไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ข. ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ค. ไม่เกิน 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ง. ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

35. เมื่อต้องขับรถเข้าใกล้ทางรถไฟที่ไม่มีแผงกั้น ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง.





ก. ชะลอรถและควรเตรียมพร้อมที่จะหยุดรถตลอดเวลา
ข. เพิ่มความเร็วเพื่อให้ผ่านไปได้เร็ว
ค. บีบแตรเตือนเพื่อความปลอดภัย
ง. เปิดกระจกเพื่อฟังเสียงสัญญาณเตือนรถไฟ

36. ระดับของเหลวในข้อใดต่อไปนี้ หากอยู่ในระดับที่ต่ำจะมีโอกาสทำให้เกิดอุบัติเหตุ


ก. ระดับน้ำมันเบรก
ข. ระดับน้ำในแบตเตอรี่
ค. ระดับน้ำยาหล่อเย็น
ง. ระดับน้ำฉีดกระจก

37. จากรูป หากท่านพบเห็นสัญญาณจราจรเปลี่ยนเป็นสีเหลือง.ท่านควรระมัดระวังและปฏิบัติอย่างไร



ก. เร่งความเร็วและขับผ่านไป
ข. บีบแตรและขับผ่านไป
ค. ค่อยๆ เหยียบเบรกย้ำๆ เพื่อเตือนรถข้างหลังระวังและเตรียมหยุด
ง. เหยียบเบรกเพื่อหยุดรถทันที

38. ชนิดใดที่ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายให้มากที่สุด

ก. รถยนต์รับจ้าง (แท๊กซี่)
ข. รถสามล้อรับจ้าง
ค. รถที่มีความเร็วช้าหรือต่ำกว่ารถคันอื่น
ง. ถูกทุกข้อ

39. เครื่องหมายนี้ คือเครื่องหมายอะไร




ก. ห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา
ข. ให้เปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา
ค. ห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย
ง. ให้เปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย

40. เมื่อขับรถในช่องจราจรขวาสุด และมีรถด้านหลังขับขึ้นมาด้วยความเร็วสูง.ท่านควรทำอย่างไร

ก. ให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย และเปลี่ยนไปยังช่องจราจรด้านซ้าย เพื่อให้รถที่มีความเร็วสูงกว่ารถของท่านแซงขึ้นไปอย่างปลอดภัย
ข. เร่งความเร็วหนีรถด้านหลัง.พยายามขับทิ้งระยะให้ห่างจากรถคันหลัง
ค. ขับด้วยความเร็วเดิม เพื่อให้รถด้านหลังเปลี่ยนช่องจราจรไปทางซ้าย
ง. ให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย หักหลบไปยังช่องจราจรซ้าย เร่งความเร็วแข่งกับรถในช่องจราจรขวา

41. จากรูปเป็นการชนประสานงากันระหว่างรถคัน ก และ รถคัน ข ถามว่ารถ ก. หรือ รถ ข. เป็นฝ่ายผิด เพราะอะไร




ก. รถ ก. ผิด เพราะแซงซ้ายบนทางโค้งส่วนรถ ข. ถูก เพราะช่องที่ขับมาเป็นไหล่ทางไม่ใช่
ข. รถ ก. ผิด เพราะขับรถย้อนศร ส่วนรถ ก. ถูกเพราะเป็นไหล่ทางช่องรถวิ่งสามารถขับได้
ค. รถ ก. เป็นฝ่ายถูก เพราะขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย ส่วนรถ ข. เป็นฝ่ายผิด เพราะขับรถชิดขอบทางด้านขวา
ง. รถ ก. ผิด เพราะแซงด้านซ้าย ส่วนรถ ข. ผิดเพราะขับรถย้อนศร

42. เมื่อฝนเริ่มตกหนักในขณะที่ท่านขับรถอยู่ในเขตที่จำกัดความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง.ท่านควรปฏิบัติอย่างไร

ก. ขับด้วยความเร็วเท่าเดิม
ข. ชะลอความเร็วลง
.ค. ขับรถเข้าข้างทางและรอจนกว่าฝนจะหยุดตก.
ง. เร่งความเร็ว










43. เครื่องหมายนี้ หมายความว่าอย่างไร

ก. ทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวขวา
ข. ห้ามเลี้ยวซ้าย
ค. ห้ามเลี้ยวขวา
ง. ให้เลี้ยวซ้าย

44. การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกกรณีใดถูกต้อง
ก. ขับผ่านไปได้โดยทันที
ข. กรณีในทางร่วมทางแยกมีรถอื่นหยุดขวางอยู่จนไม่สามารถขับรถผ่านไปได้ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถที่หลังเส้นให้รถหยุดและรอจนกว่าจะสามารถเคลื่อนรถผ่านทางร่วมแยกไปได้
ค. ถ้ามีรถถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกับผู้ขับขี่ต้องยอมให้รถที่อยู่ทางขวามือของถนนขับผ่านไปก่อน
ง. ถูกทุกข้อ


















45. เครื่องหมายนี้ หมายความว่าอย่างไร

ก. ห้ามจอดรถ เว้นแต่หยุดรับ-ส่งคนหรือสิ่งของชั่วขณะ
ข. จอดรถทิ้งไว้เพื่อรอรับคนได้
ค. ทางเดินรถประจำทาง
ง. ที่จอดรถประจำทาง

46. เมื่อผู้ขับขี่ขับรถเสียหลักบนถนนเปียกลื่น ควรปฏิบัติอย่างไร


ก. เหยียบเบรกทันที แล้วค่อยๆออกตัวเร่งความเร็วใหม่
ข. ถอนคันเร่ง.เหยียบเบรกเพื่อใช้เกียร์ต่ำ
ค. ถอนคันเร่ง.จับพวงมาลัยให้มั่นประคองรถต่อไป
ง. ตั้งสติให้มั่น จับพวงมาลัยให้ดี เร่งความเร็วหนีให้พ้นไป

47. รถในข้อใด ห้ามนำมาใช้ในทาง

ก. รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง
ข. รถที่ติดแผ่นป้ายทะเบียนของทางราชการกำหนด
ค. รถที่จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว
ง. รถที่อุปกรณ์ส่วนควบครบถ้วน

48. รถของท่าน (คัน ข.) ชนกับรถของคัน ก. ตรงบริเวณที่ท่านกำลังเลี้ยวขวาเข้าซอย ดังรูป




ก. ท่านเป็นฝ่ายผิด เพราะขับล้ำเข้าในช่องทางรถสวน
ข. ฝ่ายนาย ก. เป็นฝ่ายผิด เพราะไม่ยอมให้รถเลี้ยวเข้าซอยไปก่อน
ค. ท่านเป็นฝ่ายผิด เพราะไม่ได้ให้สัญญาณเลี้ยวขวา
ง. ฝ่ายนาย ก. เป็นฝ่ายผิด เพราะไม่ลดความเร็วของรถขณะขับผ่านทางร่วมทางแยก

49. ประสงค์จดทะเบียนรถต้องยื่นคำขอที่ใด


ก. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนที่สำนักงานขนส่งจังหวัดทุกแห่ง
ข. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา
ค. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนที่กรมการขนส่งทางบก
ง. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนตามสถานที่ตั้งที่จำหน่ายรถนั้น ๆ

50. ข้อใดใช้ไฟสูงไฟต่ำถูกต้อง

ก. ใช้ไฟสูงเมื่อมีรถสวนมา
ข. ใช้ไฟสูงเมื่อไม่มีรถสวนมา
ค. ใช้ไฟสูงเฉพาะตอนกลางคืน
ง. ใช้ไฟสูงเฉพาะตองกลางวัน


ขอบคุณที่มาจาก http://test-driving-license.blogspot.com/2015/05/50-2558.html

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 5 บทความสารคดีที่น่ามาใช้สำหรับการเขียนโครงร่าง



วิธีการทำกระดาษจากวัชพืช







http://www.komchadluek.net/news/agricultural/234097


การทำกระดาษด้วยมือ

การทำกระดาษด้วยมือส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นการทำกระดาษเพื่อใช้ในงานหัตถกรรม ซึ่งมีวัตถุดิบจากพืชหลายชนิด แต่ก่อนกระดาษจะทำจากเปลือกไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่นถ้าใช้เปลือกข่อยก็จะเรียกสมุดข่อย ใช้เปลือกสาก็จะเรียกสมุดปอสา พืชทั้งหลายที่เป็นผักและผลไม้เมื่อนำไปบริโภคแล้ว ยังมีส่วนที่ยังตกค้างอยู่ในแปลงปลูกที่ยังไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ นอกการจากการเผาทำลายทิ้งทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และส่งเสริมให้เกิดภาวะโลกร้อน จึงขอแนะนำวิธีการทำกระดาษจากเศษเหลือทางการเกษตร ตัวอย่างเช่น ใบและกาบกล้วย ใบสับปะรด ฟางข้าว ผักตบชวา ปอสา เป็นต้น นอกจากพืชที่กล่าวมาแล้วยังมีพืชอีกหลายชนิดที่สามารถนำมาทำกระดาษได้



การเตรียมวัตถุดิบ


วัตถุดิบที่จะนำมาใช้ต้มเป็นเยื่อสามารถทำได้ทั้งสดและแห้ง แต่ขอแนะนำให้ใช้แบบแห้ง เพราะสามารถคำนวณหาปริมาณโซดาไฟ (NaOH) ที่ใช้ต้มได้ง่าย ก่อนต้มวัตถุดิบควรนำไปแช่น้ำไว้ 1 คืน เพื่อทำให้การต้มสามารถย่อยสลายได้ดีขึ้นและยังช่วยล้างเอาสิ่งสกปรกออกไปในขั้นตอนการแช่ด้วย ที่เห็นในภาพเป็นการต้มด้วยถังน้ำมัน 200ลิตร ซึ่งสามารถต้มปอสาได้มากกว่า 20 กก. แต่ถ้าทำน้อยก็ใช้หม้อสแตนเลสต้มได้ สามารถคิดค้นกระดาษรูปแบบใหม่ที่ใช้ประดับตกแต่งได้ถือว่าเป็นการเริ่มต้นการค้นคว้าหาสิ่งใหม่ ในการต้มเยื่อก็เพื่อต้องการให้เส้นใยที่มีอยู่ในพืชแยกออกจากกันเป็นเส้นใยเดี่ยวและสลายสารต่างๆที่มีอยู่ในพืชออกไป วัตถุดิบที่มีขนาดใหญ่ หนา ควรบีบ ทุบ หรือตัดให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้โซดาไฟได้ย่อยสลายได้ดีขึ้น ปริมาณโซดาไฟที่ใช้ควรอยู่ระหว่าง 8-15% ต่อน้ำหนักแห้ง ในการต้มมีปัจจัยอยู่ 3 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณโซดาไฟที่ใช้ อุณหภูมิ เวลาในการต้ม ทั้ง 3 ปัจจัยต้องพิจารณาว่าเหมาะสมกับวัตถุดิบของพืชแต่ละชนิดหรือเปล่า การใช้โซดาไฟถ้าใช้มากไปก็จะไปทำลายเส้นใยทำให้ได้กระดาษที่ไม่แข็งแรง ตัวอย่าง ปอสาควรใช้โซดาไฟ 7-8% กาบกล้วยใช้ 10% ใบสับปะรดใช้ 15%ฟางข้าวใช้ 15% ผักตบชวาใช้ 5-12% เป็นต้น


โซดาไฟ





Cr.http://www.siamchemi.com/โซดาไฟ/


โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) มีสถานะเป็นของแข็งสีขาวหรืออาจอยู่ในรูปของเหลวที่เป็นสารละลาย ถือเป็นสารเคมีที่มีความสำคัญมากในภาคอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันมีจำหน่ายทั้งในสถานะของแข็ง และของเหลว บางครั้งเรียกกันว่า ผงมัน ส่วนในรูปสารละลายมักพบความเข้มข้น 50%


โซดาไฟก้อน เป็นสถานะปกติของโซดาไฟที่อยู่ในรูปของแข็ง มีลักษณะเป็นผลึกหรือผงสีขาว มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดี เมื่อละลายน้ำจะให้ฤทธิ์เป็นด่างแก่ ใช้มากในภาคอุตสาหกรรม และมีใช้บ้างในภาคครัวเรือน และการเกษตร


ลักษณะเฉพาะของโซดาไฟ

1. เป็นก้อนผลึกหรือผงสีขาว

2. ละลายน้ำได้ด่างแก่

3. มวลอะตอมเท่ากับ 39.9971 กรัม/โมล

4. ความหนาแน่น 2.1 กรัม/ลบ.ซม.

5. จุดหลอมเหลวที่ 318 องศาเซลเซียส

6. จุดเดือดที่ 1390 องศาเซลเซียส

7. ความสามารถในการละลายน้ำ 111 กรัม/100 มล. ที่ 20 องศาเซลเซียส


โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) มีสถานะเป็นของแข็งสีขาวหรืออาจอยู่ในรูปของเหลวที่เป็นสารละลาย ถือเป็นสารเคมีที่มีความสำคัญมากในภาคอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันมีจำหน่ายทั้งในสถานะของแข็ง และของเหลว บางครั้งเรียกกันว่า ผงมัน ส่วนในรูปสารละลายมักพบความเข้มข้น 50%


โซดาไฟก้อน เป็นสถานะปกติของโซดาไฟที่อยู่ในรูปของแข็ง มีลักษณะเป็นผลึกหรือผงสีขาว มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดี เมื่อละลายน้ำจะให้ฤทธิ์เป็นด่างแก่ ใช้มากในภาคอุตสาหกรรม และมีใช้บ้างในภาคครัวเรือน และการเกษตร


ลักษณะเฉพาะของโซดาไฟ

1. เป็นก้อนผลึกหรือผงสีขาว

2. ละลายน้ำได้ด่างแก่

3. มวลอะตอมเท่ากับ 39.9971 กรัม/โมล

4. ความหนาแน่น 2.1 กรัม/ลบ.ซม.

5. จุดหลอมเหลวที่ 318 องศาเซลเซียส

6. จุดเดือดที่ 1390 องศาเซลเซียส

7. ความสามารถในการละลายน้ำ 111 กรัม/100 มล. ที่ 20 องศาเซลเซียส


ทำละลาย (น้ำ) มีฤทธิ์เป็นด่าง ไม่มีกลิ่น แต่สามารถเกิดไอระเหยได้ เมื่อสัมผัสจะลื่นเหมือนสบู่ พบจำหน่ายมากในปัจจุบัน ได้แก่ โซดาไฟ 32% และ50% เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้มากในภาคอุตสาหกรรม


การผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์

1. การผลิตจากสารละลาย NaCl หรือเกลือแกง

ด้วยหลักการอิเล็กโทรไลซิสของเซลล์อิเล็กโทรไลต์ ได้แก่ เมมเบรนเซลล์ (Membrane cell) และไดอะแฟรม เซลล์ (Diaphragm cell) โดยการนำเกลือมาแยกด้วยกระแสไฟฟ้ากระแสตรงทำให้เกิดก๊าซคลอรีน และโซเดียมไอออน จากนั้นโซเดียมไอออนจะทำปฏิกิริยากับน้ำในเซลล์จนเกิดโซเดียมไฮดรอกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจน และก๊าซคลอรีน ดังสมการ


2NaCl + H2O+2e- = H2 + 2NaOH + Cl2


2. การผลิตจากปูนขาว

ด้วยการละลายโซดา (NaCO3) ในน้ำปูนขาว (Ca(OH)2) ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ทำให้ได้โซเดียมไฮดรอกไซด์ และแคลเซียมคาร์บอเนต ดังสมการ


NaCO3 + Ca(OH)2 = 2NaOH + CaCO3


โดยโซเดียมไฮดรอกไซด์จะระเหยตัวออก และไหลเข้าสู่ท่อเหล็กเย็นเพื่อกลั่น ซึ่งจะมีโซเดียมไฮดรอกไซด์ประมาณ 92%


3. การผลิตจากสารประกอบเฟอร์ไรท์

สารประกอบเฟอร์ไรท์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต คือ NaO.FeO3 จากการเตรียมด้วยสารประกอบเฟอร์ไรท์กับผงโซดาที่อุณหภูมิ 1100 ถึง 1200 องศาเซลเซียส และเข้าสู่กระบวนการชะด้วยน้ำจนได้โซเดียมไฮดรอกไซด์ และตะกอนสารประกอบเฟอร์ไรท์ ดังสมการ


NaO.FeO3 + H2O = 2NaOH + FeO3


ประโยชน์โซดาไฟ

โซดาไฟสามารถใช้ในรูปของโซดาไฟก้อน และโซดาไฟเหลว ในด้านต่างๆ คือ

– เป็นสารตั้งต้นในการผลิตโซดาไฟเหลว

– ใช้สำหรับอุตสาหกรรมผลิตสบู่ ด้วยการทำปฏิกิริยากับไขมันเปลี่ยนเป็นสบู่

– ใช้สำหรับขจัดคราบสกปรก และสิ่งอุดตันในท่อระบายน้ำ ด้วยก้อนหรือละลายน้ำเทราดบริเวณที่มีการอุดตันของท่อ

– ใช้สำหรับปรับสภาพความเป็นกรดของน้ำให้เป็นด่าง โดยเฉพาะในระบบบำบัดน้ำเสียที่ต้องปรับความเป็นกรด-ด่างของน้ำ

– ใช้สำหรับการตกตะกอนของแร่ธาตุหรือโลหะหนักในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย

– ใช้ฟื้นสภาพของเรซินของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ

– ใช้ในกระบวนการฟอกย้อมไหม โดยเฉพาะขั้นตอนการลอกกาวไหมที่ต้องต้มละลายกาวไหมด้วยโซดาไฟ สำหรับการฟอกไหมในระดับครัวเรือน ชาวบ้านเรียกโซดาไฟว่า ผงมัน ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายเคมีฟอกไหม


ตัวอย่างประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม

1. อุตสาหกรรมสิ่งทอ มักใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ในขั้นตอนการปรับสภาพเส้นใยที่อุณหภูมิ 15-25 องศาเซลเซียส นาน 25-40 นาที ซึ่งจะใช้ความเข้มข้นประมาณ 20-25% ซึ่งจะทำให้เกิดการคลายตัวของเส้นใยเซลลูโลสทำให้เพิ่มความสามารถในการดูดซับสีย้อม เพิ่มความมันวาว และอ่อนนุ่มขณะถักทอ


2. อุตสาหกรรมกระดาษ มักใช้สำหรับการฟอกขาวเยื่อกระดาษร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งจะไม่ทำลายสภาพเส้นใยเยื่อกระดาษ


3. อุตสาหกรรมอาหาร มีการใช้ในหลายรูปแบบ ได้แก่

– การล้างทำความสะอาดขวดหรือภาชนะบรรจุภัณฑ์

– การแปรรูปผลิตภัณฑ์แป้ง เพื่อย่อยสลายแป้งให้เป็นน้ำตาล

– ใช้ในกระบวนการผลิตผงชูรสหรือโมโนโซเดียมกลูตาเมต


4. อุตสาหกรรมสบู่ และผงซักฟอก โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ในการปรับสภาพกรดไขมันให้เป็นกลาง


ข้อมูลความปลอดภัย

1. ละอองของโซเดียมไฮดรอกไซด์ทำให้เกิดการอักเสบที่เยื่อบุระบบทางเดินหายใจ และอาจมีผลให้เกิดการระคายเคือง และอักเสบที่ปอด

2. การสัมผัสกับผิวหนังที่มีความเข้มข้นสูงจะทำให้เกิดเป็นแผลพุพอง และเป็นแผลเป็นได้ หรือการสัมผัสกับไอของโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นเวลานานจะทำให้ผิวหนังแห้ง แตกสะเก็ดเป็นแผลได้

3. เมื่อสัมผัสกับตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ทำลายเนื้อเยื่อ แผลพุพอง เป็นต้อหินหรือต้อกระจกและอาจตาบอดได้

4. เมื่อเข้าสู่ปาก และทางเดินอาหารจะทำให้เกิดการกัดกร่อนอย่างรุนแรงต่อเนื้อเยื่อทางเดิน อาหาร ทำให้เป็นแผลที่ช่องปาก และลำคอไหม้ ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน วิงเวียน จนถึงตายได้

5. ขณะใช้งาน ควรสวมผ้าปิดจมูก สวมถุงเท้า ถุงยางมือ แว่นตากันสารเคมี และสวมชุดป้องกันสารเคมีให้เรียบร้อย


Cr.http://www.siamchemi.com/โซดาไฟ/




การล้างเยื่อ






Cr.http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000083532


เมื่อต้มวัตถุดิบจะได้เยื่อที่ยังมีโซดาไฟอยู่ควรต้องล้างออกให้หมด สังเกตุได้จากเมื่อจับเยื่อจะไม่ลื่นมือและน้ำล้างเยื่อจะใส การล้างอาจใส่ในอ่างน้ำแล้วแช่ไว้ จากนั้นถ่ายน้ำออก หรือล้างโดยวิธีน้ำไหลเหมือนการล้างผักก็ได้ ในการล้างเยื่อนี้เราจะคัดแยกเยื่อที่ไม่เปื่อยออกไปด้วย เยื่อเหล่านี้ไม่สามารถนำไปทำกระดาษได้ วิธีการดูว่าเยื่อที่เราต้มใช้ได้หรือเปล่านั้น ให้ดึงตามแนวตั้งและแนวขวาง แล้วสามารถดึงและฉีกออกได้ง่าย แสดงว่สามารถใช้ได้ แต่ถ้าดึงไม่ขาดก็ใช้ไม่ได้






การฟอกเยื่อ





Cr.http://www.clinictech.most.go.th/online/pages/techlist_display.asp?tid=76


การฟอกเยื่อเป็นการทำให้เยื่อที่จะนำมาใช้ทำแผ่นกระดาษให้มีความขาวเพิ่มขึ้น แต่ถ้าต้องการกระดาษให้เป็นสีธรรมชาติของเยื่อก็ไม่ต้องฟอก กระดาษที่ทำด้วยมือส่วนใหญ่แล้วถ้าไม่ใช่กระดาษสาจะไม่ฟอกกันนะครับ เพราะสีของกระดาษที่ได้ดูแล้วก็สวยไปอีกแบบ
ในการฟอกเยื่อสารเคมีที่แนะนำให้ใช้ควรจะเป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) สารตัวนี้จะไม่เป็นอันตรายกับสิ่งแวดล้อม และใช้ร่วมกับสารตัวอื่นด้วย แต่ใช้ตัวเดียวก็ได้ถ้าใช่ตัวเดียวก็จะสลายได้ไว ในการฟอกเยื่อก็แล้วแต่พืชแต่ละชนิดซึ่งความเข้มข้นของสารจะใช้ไม่เหมือนกัน เช่น เยื่อปอสา ใช้ 2-4% เยื่อใบสับปะรด ใช้ 6% เยื่อกล้วย ใช้12% เป็นต้น อุณหภูมิในการฟอก 100 องศา เวลาก็ประมาณ 2 ชม. ในการใช้ระดับความเข้มข้นของสารต่างกัน สีของกระดาษก็ได้ต่างกันด้วย การฟอกบางครั้งก็อาจไม่จำเป็นก็ได้ จะจำเป็นก็เมื่อต้องการเยื่อที่ได้นั้นไปย้อมสีเท่านั้นเอง






การกระจายเยื่อ (ตีเยื่อ)




Cr.http://www.shutthinut.rwb.ac.th/story-basic-howtomake.htm


การกระจายเยื่อเป็นการทำให้เยื่อที่ประกอบด้วยเส้นใยหลายๆ เส้นหลุดออกจากกันเป็นเส้นใยเดี่ยวๆ นั้นเอง ระยะเวลาในการกระจายเยื่อขึ้นอยู่กับว่าในการต้มเยื่อเราได้ต้มเยื่อดีหรือเปล่า? ความเข้มข้นของสารเคมี NaOH ที่ใช้ในการต้มมีความเหมาะสมหรือเปล่า? ในการกระจายเยื่อเรายังสามารถประเมินบอกเราให้ทราบว่าสารเคมีที่ใช้ต้มมีความเข้มข้นเหมาะสมหรือเปล่า เช่น ถ้ากระจายเยื่อและเยื่อยังเป็นกระจุกของเส้นใยอยู่ก็แสดงว่าเราใช้ความเข้มข้นของสารเคมีในการต้มน้อยไป แบบนี้ก็ขึ้นอยู่กับเราว่าต้องการเส้นใยแบบไหนในการทำเป็นกระดาษ และระยะเวลาในการกระจายเยื่อก็มีผลต่อเส้นใยเหมือนกัน ถ้าใช้เวลาสั้นๆ ก็จะได้เส้นใยหยาย แต่ถ้าใช้เวลาการกระจายเยื่อนานขึ้น เส้นใยก็กระจายได้ดีขึ้นเช่นกัน
วิธีการกระจายเยื่อแบบดั้งเดิมจะใช้การทุบด้วยไม้ หรือฆ้อนไม้ให้เยื่อแตกกระจาย หรือการนำเยื่อใส่ในถุงไนลอนตาข่าย ขนาดของรูตาข่ายก็ประมาณมุ้งลวด แบบนี้จะทำกันในประมาณมากๆ แต่ถ้าเราทำไว้เป็นของประดิษฐ์ ทำกันแบบน้อยๆ ก็อาจจะเครื่องปั่นน้ำผลไม้ก็ได้ แบบนี้ก็ไม่ว่ากัน แล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน… เอาเป็นว่าทำอย่างไรก็ได้ให้เยื่อนั้นกระจายเป็นเส้นใย และลดต้นทุนได้มากที่สุด


ตัวอย่าง ถ้าทุบด้วยมือ ใช้ปอสาหนักประมาณ 2 กิโลกรัม ต้องทุบนาน 5 ชั่วโมง แต่ถ้าใช้เครื่องจะใช้เวลาประมาณ 35 นาที จากนั้นนำเยื่อไปฟอกไม่ให้ขาวนัก แต่ถ้าชอบขาวๆต้องใช้ผงฟอกสีเข้าช่วย






การทำแผ่นกระดาษ



Cr.http://www.vcharkarn.com/varticle/18706

ในการทำแผ่นกระดาษเป็นการเทเยื่อที่ได้จากการกระจายเยื่อดีแล้วลงไปในตะแกรงไนลอนที่ใช้ทำแผ่นกระดาษ ตะแกรงนี้จะลอยน้ำเมื่อเทเยื่อลงไปเยื่อก็จะลอยน้ำอยู่บนตะแกรงเราก็ทำการเกลี่ยเยื่อภายในตะแกรงให้มีความสม่ำเสมอกันทั้งแผ่น หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า” แตะ” แต่ถ้านำเยื่อที่กระจายดีแล้วใส่ในอ่างผสมไปกับน้ำในปริมาณที่มากพอและเหมาะสม แล้วใช้ตะแกรงช้อนเยื่อขึ้นมา เรียกว่าวิธีการทำแผ่นกระดาษแบบ “ช้อนเยื่อ” ถ้าเยื่ออยู่บนตะแกรงมีความสม่ำเสมอดีก็แสดงว่าใช้ได้ และก็นำไปตากแดด เมื่อแห้งแล้วก็ค่อยๆ ลอกกระดาษออกจากตะแกรงเราก็จะได้กระดาษแล้วครับ
ในการตากแดดเส้นใยพืชบางชนิดจะมีการหดหรือย่นทำให้กระดาษที่ได้ออกมาไม่สวย เช่น เยื่อจากสับปะรด กล้วย ผักตบชวาเป็นต้น วิธีแก้ง่ายๆ ก็คือนำไปตากแดดพอหมาดๆ ก็นำเขามาตากในร่ม วิธีนี้ก็พอช่วยได้ และถ้าทำกระดาษแบบที่เห็นเป็นเส้นใยแบบหยาบแบบนี้ก็จะช่วยลดการหดหรือย่นได้


แบบตัก ใช้แม่พิมพ์ลักษณะเป็นตะแกรงไนลอน ขนาด 50 คูณ 60 เซนติเมตร หรือทำขนาดตามขนาดกระดาษที่ต้องการ ช้อนตักเยื่อเข้าหาตัว ยกตะแกรงขึ้นตรงๆแล้วเทน้ำออกไปทางด้านหน้าโดยเร็ว จะช่วยให้กระดาษมีความสม่ำเสมอ


แบบแตะ มักใช้ตะแกรงที่ทำจากผ้าใยบัวหรือผ้ามุ้งที่มีเนื้อละเอียดและใช้วิธีชั่งน้ำหนักของเยื่อเป็นตัวกำหนดความหนาของแผ่นกระดาษ นำเยื่อใส่ในอ่างน้ำ ใช้มือเกลี่ยกระจายเยื่อบนแผ่นให้สม่ำเสมอ


ตัวอย่าง ในการทำแผ่นกระดาษสา นำตะแกรงไปตากแดดประมาณ 1-3 ชั่วโมง กระดาษสาจะแห้งติดกันเป็นแผ่น จึงลอกกระดาษสาออกจากแม่พิมพ์


เปลือกปอสาหนัก 1 กิโลกรัม สามารถทำกระดาษสาได้ประมาณ 10 แผ่น


CR. http://www.oknation.net/blog/paper-making/2007/05/30/entry-2


https://drafkittisak.wordpress.com/การทำกระดาษด้วยมือ/